วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ทั่วไป

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
 (THE LAO PEOPLE'S DEMOCRATIC REPUBLIC)





ชื่อทางการ : สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (The Lao People's Democratic Republic)
               สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวหรือ เรียกโดยย่อว่า สปป.ลาว ตั้งอยู่ในดินแดนสุวรรณหรืออินโดจีน ระหว่างละติจูดที่ 14-23 องศาเหนือและลองติจูดที่ 100-108 องศา เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งไม่มีทางออกสู่ทะเล มีพื้นที่ 236,800 ตารางกิโลเมตร ภาคพื้นน้ำ 6,000 km² ตลอดแนวชายแดนของประเทศลาว ซึ่งมีความยาวรวม 5,083 กิโลเมตร ล้อมรอบด้วยชายแดนของประเทศเพื่อนบ้าน 5 ประเทศ ดังนี้ ประเทศ จีน ทางด้านทิศเหนือ (1 กิโลเมตร) ประเทศไทยทางด้านทิศใต้ และ ทิศตะวันตก (1,754 กิโลเมตร) ประเทศกัมพูชา ทางด้านทิศใต้ (541 กิโลเมตร) ประเทศเวียตนาม ทางด้านทิศตะวันออก (2.130 กิโลเมตร) ประเทศเมียนมาร์ ทางด้นทิศตะวันตก (235 กิโลเมตร)


ที่ตั้ง

ที่ตั้ง




               สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเป็นประเทศเพื่อนบ้านถึง 5 ประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศที่มีอิทธิพลมากกว่า ทำให้ในหลายๆ เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ ลาวต้องตกอยู่ในสถานะเป็น รัฐกันชน

ที่ตั้ง

       สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวตั้งอยู่ทางเหนือ และละติจูดที่ 14 – 23 องศาเหนือ และลองจิจูดที่ 100 – 108 องศาตะวันออก

ประเทศใกล้เคียง





ทิศเหนือ ติดกับสาธารณรัฐประชาชนจีน

ทิศตะวันออก ติดกับประเทศเวียดนาม

ทิศตะวันตก ติดกับประเทศไทย

ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดกับประเทศเมียนมาร์

ทิศใต้ ติดกับประเทศกัมพูชา


ภูมิประเทศ

             ลาวตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีน หรือที่เรียกว่า “ดินแดนสุวรรณภูมิ” อุดมสมบูรณ์ด้วยภูเขาสลับซับซ้อน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงที่ราบสูง แม้จะไม่มีไม่มีทางออกสู่ทะเล แต่ลาวก็มีแม่น้ำโขงซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักที่หล่อเลี้ยงทุกชีวิตของชาวลาวไหลผ่าน





เราอาจแบ่งภูมิประเทศของลาวได้เป็น 3 เขตด้วยกัน คือ

   1.  เขตภูเขาสูง   อยู่สูงกว่าระดับทะเลโดยเฉลี่ย 1,500  เมตรขึ้นไป  เป็นพื้นที่ตอนเหนือของประเทศ  มีป่าไม้หนาแน่นที่สุด  เป็นที่อยู่ของลาวสูงหรือม้ง  ซึ่งมีอาชีพทำนาบนที่สูงและทำไร่

     2. เขตที่ราบสูง  เป็นพื้นที่ที่มีความสูงกว่าน้ำทะเล  1,000  เมตร  อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้  ประกอบด้วยที่ราบสูงขนาดใหญ่  3  แห่ง  คือ  ที่ราบสูง  เมืองพวน  (แขวงเชียงขวาง)  ที่ราบสูงนากาย  (แขนวงคำม่วน)  และที่ราบสูงภาคใต้  เป็นที่อยู่อาศัยของลาวเทิง  ซึ่งมักทำอาชีพเพาะปลูก  ทำนาขั้นบันได  ทำไร่เลื่อนลอย  เป็นต้น

     3.  เขตที่ราบลุ่ม  เป็นเขตที่ราบตามแนวฝั่งแม่โขงและแม่น้ำต่างๆ  นับเป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญของประเทศ  เพราะเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุด  เป็นที่อยู่ของลาวลุ่ม  มีอาชีพหลักคือทำนาลุ่มและทำการเกษตร

เมืองหลวง

กรุงเวียงจันทน์



    เวียงจันทน์ (Vientiane)  เมืองหลวงของลาว หรือ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เป็นเมืองที่สำคัญและใหญ่ที่สุดของประเทศ ตั้งอยู่ตอนกลางของประเทศลาวใกล้กับจังหวัดหนองคายของประเทศไทยและเป็นหนึ่งในเมืองหลวงอาเซียนในปัจจุบัน โดยเวียงจันทน์มีพรมแดนติดกับภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย


ประวัติของกรุงเวียงจันทน์

เมืองหลวงลาว หรือ กรุงเวียงจันทน์ หรือ นครหลวงเวียงจันทน์ ที่คนลาวนิยมเรียก เป็นเมืองที่มีประวัติย้อนหลังอันยาวนาน โดยถูกสถาปนาขึ้นเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรล้านช้าง (ประเทศลาวในปัจจุบัน) เมื่อปี พ.ศ. 2103 โดยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2321 ได้ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของไทย และตกไปเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ. 2436 ก่อนจะประกาศเอกราชในเวลาต่อมา ซึ่งตลอดเวลาตั้งแต่สมัยอาณาจักรล้านช้างจนถึงปัจจุบัน นครเวียงจันทน์ได้รับการยกให้เป็นเมืองหลวงของประเทศตลอดมา


ลักษณะทั่วไปของเวียงจันทน์

เวียงจันทน์ตั้งอยู่ตอนกลางของประเทศในเขตลุ่มน้ำโขง มีที่ตั้งตามพิกัดสากลที่ 17°58′ เหนือ, 102°36′ ตะวันออก มีประชากรทั้งแบบลงทะเบียนและไม่ลงทะเบียนแน่นอนราว 700,000 คน




             เนื่องจากเวียงจันทน์เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ จึงมีการแบ่งเป็นเขตพื้นที่ย่อยทั้งหมด 5 เขต เพื่อง่ายต่อการบริหาร (เหมือนการแบ่งเขตของกรุงเทพมหานคร) คือ เขตจันทบุรี เขตศรีโคตรบอง เขตไชยเชษฐา เขตศรีสัตตนาค และเขตหาดทรายฟอง
เวียงจันทน์นอกจากจะเป็นเมืองหลวงลาวแล้ว ยังเป็นเมืองใหญ่และสำคัญที่สุดของประเทศ เป็นศูนย์กลางการเมืองการปกครอง ศูนย์กลางทางด้านเศรษฐกิจและการลงทุน การศึกษา และการคมนาคมขนส่ง เป็นต้น
เวียงจันทน์เป็นเมืองที่สวยงาม มีศิลปะวัฒนธรรมที่น่าสนใจมากมาย ทั้งวัดวาอารามและอนุสรณ์สถานต่างๆ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจที่สุดแห่งหนึ่งของอาเซียน อีกทั้งค่าใช้จ่ายด้านการกินการอยู่ก็ไม่สูง การเดินทางสะดวก รถราก็ไม่ติดเหมือนเมืองใหญ่อื่นๆ

ประชากรและศาสนา

ประชากร 



       จากสถิติในปี พ.ศ. 2548 (ตามข้อมูลกระทรวงการต่างประเทศของไทย) ประเทศลาวมีประชากรรวม 6,068,117 คน ประกอบด้วยชนชาติต่างๆ หลากหลายเชื้อชาติ ซึ่งในภาษาลาวจะเรียกรวมกันว่า "ประชาชนบรรดาเผ่า" สามารถจำแนกได้เป็น 68 ชนเผ่าโดยประมาณ
 แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ตามถิ่นที่อยู่อาศัย ดังนี้

ลาวลุ่ม  หมายถึงชาวลาวที่อาศัยอยู่ในเขตที่ราบ ส่วนใหญ่ได้แก่คนเชื้อชาติลาว ภูไท ไทดำ ไทลื้อ ฯลฯ ใช้ภาษาลาวหรือภาษาตระกูลภาษาไทเป็นภาษาหลัก ประชาชนกลุ่มนี้มีอยู่ร้อยละ 68 ของจำนวนประชากรทั้งหมดและอาศัยกระจายอยู่ทั่วประเทศ ถือว่าเป็นกลุ่มชาวลาวที่มีจำนวนมากที่สุดในประเทศ

ลาวเทิง หมายถึงชาวลาวที่อาศัยอยู่ในเขตที่ราบสูง เช่น ชาวบรู มะกอง งวน ตะโอย ตาเลียง ละเม็ด ละเวน กะตัง ฯลฯ ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ทางภาคใต้ของประเทศ เช่น แขวงจำปาสัก แขวงเซกอง แขวงอัตตะปือ คิดเป็นร้อยละ 22 ของจำนวนประชากรทั้งหมด

ลาวสูง หมายถึงชาวลาวที่อาศัยอยู่ในเขตภูเขาสูง เช่น ชาวม้ง เย้า มูเซอ ผู้น้อย และชาวเขาเผ่าต่างๆ ส่วนมากอาศัยอยู่ในเขตภาคเหนือของลาว เช่น แขวงหลวงพระบาง แขวงเชียงขวาง และตามแนวตะเข็บชายแดนภาคเหนือ ชาวลาวกลุ่มนี้คิดเป็นจำนวนร้อยละ 9 ของจำนวนประชากรทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีชาวลาวเชื้อสายเวียดนาม ชาวลาวเชื้อสายจีน รวมทั้งชาวต่างชาติอื่นๆ ในลาวคิดเป็นร้อยละ 2 ของจำนวนประชากรทั้งหมดด้วย


ศาสนา 



                ชาวลาวส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติ (ร้อยละ 60 ของชาวลาวทั้งหมด)  ควบคู่ไปกับลัทธินับถือผีบรรพบุรุษของชนชาติส่วนน้อยในแถบภูเขาสูง ส่วนชาวลาวที่นับถือศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลามมีจำนวนที่ค่อนข้างน้อยมาก โดยศาสนาคริสต์ส่วนมากจะมีผู้นับถือเป็นกลุ่มชาวเวียดนามอพยพและชาวลาวเชื้อสายเวียดนาม ส่วนศาสนาอิสลามพบว่ามีการนับถือในหมู่ชนชาติส่วนน้อยจีนฮ่อที่อาศัยตามชายแดนด้านติดกับประเทศพม่า และมีชุมชนมุสลิมที่มีเชื้อสายเอเชียใต้ และจามในเวียงจันทน์

พุทธศาสนาแบบเถรวาท 
             นับเป็นแบบแผนหลักของวัฒนธรรมลาว ซึ่งปรากฏให้เห็นทั่วประเทศ ทั้งในด้านภาษา และศิลปะ วรรณคดี ศิลปะการแสดง ฯลฯ สำหรับดนตรีลาวนั้นมี แคน ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีประจำชาติ วงดนตรีของลาวก็คือวงหมอลำ มีหมอลำ และหมอแคน ท่วงทำนองของการขับลำจะแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น ทางภาคเหนือเรียกว่าขับ ภาคใต้จากบอลิคำไซลงไปเรียกว่าลำ เช่น ขับงึมเวียงจันทน์ ขับพวนเซียงขวง ลำสาละวันของแขวงสาละวัน ลำภูไท ลำตังหวาย ลำคอนสะหวัน ลำบ้านซอกของแขวงสะหวันนะเขต ขับโสม ลำสีพันดอนของแขวงจำปาสัก ลำมะหาไซของแขวงคำม่วน ขับทุ่มของแขวงหลวงพระบาง ขับลื้อของชาวลื้อ เป็นต้น การแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ อย่างหนึ่งของลาวคือผู้หญิงจะนุ่งผ้าซิ่น (ผ้าถุง) อาหารของคนลาว ลาวจะทานข้าวเหนียวเป็นหลัก อาหารที่เป็นเอกลักษณ์คือ แจ่ว ส้มตำ ไก่ย่าง เป็นต้น อารยธรรมเก่าแก่ของลาวนั้น มีปรากฏจากหลักฐานด้านโบราณคดียุคหินที่ทุ่งไหหินในแขวงเชียงขวาง

ภาษาและวัฒนธรรม

ภาษา 



                    ประเทศลาวใช้ภาษาลาวเป็นภาษาทางการทั้งในส่วนของภาษาพูดและระบบการเขียน ส่วนในกลุ่มชาวลาวเทิงและชาวลาวสูงยังคงมีการใช้ภาษาประจำเผ่าของตนควบคู่กับภาษาลาว ส่วนภาษาต่างประเทศอื่นที่มีการใช้ได้แก่ภาษาฝรั่งเศสซึ่งมีการใช้มาตั้งแต่สมัยอาณานิคม ปัจจุบันยังคงใช้ในวงราชการและการติดต่อค้าขายบ้าง อีกภาษาหนึ่งที่สำคัญคือภาษาอังกฤษซึ่งใช้ในการติดต่อกับต่างประเทศและการค้า ซึ่งนับวันการศึกษาภาษาอังกฤษก็ยิ่งจะขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ สำหรับอัตราการรู้หนังสือของลาวนั้น ประชากรเพศชายรู้หนังสือร้อยละ 67 หญิงร้อยละ 43 เมื่อคิดเฉลี่ยรวมทั้งสองเพศแล้วปรากฏว่าประเทศลาวมีอัตราประชากรที่รู้หนังสือ ร้อยละ 56


วัฒนธรรม 



                มีความคล้ายคลึงกับคนภาคอิสานของไทยเป็นอย่างมาก ยังมีคำกล่าวที่ว่า “ มีลาวอยู่แห่งใด มีมัดหมี่ แลลายจกอยู่ที่นั้น ” ในด้านดนตรี ลาวมีแคนเป็นเครื่องดนตรีประจำชาติ มีหมอขับ หมอลำ ลาวมีประเพณีทางพระพุทธศาสนาและอื่นๆ เช่น วันมาฆบูชา วันสงกรานต์ วันออกพรรษา บุญเข้าประดับดิน บุญเข้าฉลาก บุญส่วงเฮือ (แข่งเรือ) บุญธาตุหลวงเวียงจันทน์ ในเดือน 12 เป็นต้น

ลักษณะภูมิอากาศ 

ลักษณะภูมิอากาศ 



              ประเทศลาวตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้น ลักษณะทางภูมิศาสตร์มีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก ตั้งแต่ภาคกลางจนถึงภาคเหนือในแขวงพงสาลีที่มีเขตแดนอยู่ติดกับประเทศจีน ภูมิประเทศส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนและที่ราบสูงอากาศค่อนข้างหนาวถึงหนาวจัด ส่วนทางทิศตะวันออกมีลักษณะเป็นเทือกเขาและที่ราบติดกับประเทศเวียดนาม สำหรับทางตอนใต้สุดมีลักษณะเป็นเทือกเขาติดกับประเทศกัมพูชา ประกับกับที่ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมในทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศลาวมีลักษณะทางภูมิอากาศ

แบ่งออกได้ 3 ฤดู 

ฤดูร้อน เริ่มต้นตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ จนถึงเดือนเมษายน

ฤดูฝน เริ่มต้นตั้งแต่เดือนพฤษภาคม จนถึงเดือนตุลาคม

ฤดูหนาว เริ่มต้นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน จนถึงเดือนมกราคม

เศรษฐกิจ 

เศรษฐกิจ 

          ภาวะเศรษฐกิจของ สปป.ลาวมีพัฒนาการที่ดีตามลำดับ โดยในช่วง 20 ปีนับตั้งแต่ปรับเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมสู่ระบบเศรษฐกิจเสรีการตลาดเมื่อปี 2529 สปป.ลาวมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 6.2 ต่อปี ประชากรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากประมาณ 200 ดอลลาร์สหรัฐเมื่อปี 2529 เป็น 491 ดอลลาร์สหรัฐในปี 2548 ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 10 ต่อปี โดยอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าเป็นสาขาหลักที่สร้างรายได้ให้แก่ประเทศ อย่างไรก็ดี ลาวยังคงประสบปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไข ที่สำคัญได้แก่ ปัญหาราคาน้ำมัน ที่เพิ่มสูงขึ้น ปัญหาการขาดดุลการค้าในอัตราสูง ค่าเงินกีบไม่มีเสถียรภาพ การจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าเป้าหมาย และปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง ทรัพยากรสำคัญของลาว ได้แก่ ไม้ ดีบุก ยิบซั่ม ตะกั่ว หินเกลือ เหล็ก ถ่านหินลิกไนต์ สังกะสี ทองคำ อัญมณี หินอ่อน น้ำมัน และแหล่งน้ำผลิตไฟฟ้า

การลงทุน
                รัฐบาลลาวได้ปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อเสริมสร้างบรรยากาศให้เอื้ออำนวยต่อการลงทุนมากยิ่งขึ้น อาทิ มาตรการด้านภาษี อนุญาตให้นครหลวงเวียงจันทน์ แขวงจำปาสัก และแขวงหลวงพระบาง มีอำนาจอนุมัติโครงการลงทุนที่มีมูลค่าไม่เกิน 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนแขวงอื่น ๆ สามารถอนุมัติโครงการลงทุนที่มีมูลค่าลงทุนไม่เกิน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้การลงทุนจากต่างประเทศในลาวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2546 มีมูลค่า 465 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปี 2547 มีมูลค่า 533 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และปี 2548 มีมูลค่า 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นักลงทุนที่สำคัญ ได้แก่ ไทย เวียดนาม ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย จีน


การนำเข้าและการส่งออก 
                สินค้าส่งออกที่สำคัญของลาว ได้แก่เสื้อผ้าสำเร็จรูป ไม้ซุง ไม้แปรรูป ผลิตภัณฑ์ไม้ สินแร่ เศษโลหะ ถ่านหิน หนังดิบ และหนังฟอก ข้าวโพด ใบยาสูบ กาแฟ โดยส่งออกไปยังประเทศไทย เวียดนาม ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เยอรมนี สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ และเยอรมนี ส่วนการนำเข้าสินค้า ประเทศลาวได้นำเข้าสินค้าจากไทย จีน เวียดนาม สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เยอรมนี โดยสินค้าที่สำคัญได้แก่ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกล เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อน อาหาร ผ้าผืน สารเคมี และเครื่องอุปโภคบริโภค


โครงการความร่วมมือในภูมิภาคใกล้เคียง 
                  อาเซียน ลาวเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนเมื่อเดือนกรกฎาคม 2540 ได้เป็นประธาน คณะกรรมการประจำอาเซียนเมื่อกรกฎาคม 2547 >ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy - ACMECS) >ความร่วมมือในกรอบสามเหลี่ยมมรกต