วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ทั่วไป

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
 (THE LAO PEOPLE'S DEMOCRATIC REPUBLIC)





ชื่อทางการ : สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (The Lao People's Democratic Republic)
               สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวหรือ เรียกโดยย่อว่า สปป.ลาว ตั้งอยู่ในดินแดนสุวรรณหรืออินโดจีน ระหว่างละติจูดที่ 14-23 องศาเหนือและลองติจูดที่ 100-108 องศา เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งไม่มีทางออกสู่ทะเล มีพื้นที่ 236,800 ตารางกิโลเมตร ภาคพื้นน้ำ 6,000 km² ตลอดแนวชายแดนของประเทศลาว ซึ่งมีความยาวรวม 5,083 กิโลเมตร ล้อมรอบด้วยชายแดนของประเทศเพื่อนบ้าน 5 ประเทศ ดังนี้ ประเทศ จีน ทางด้านทิศเหนือ (1 กิโลเมตร) ประเทศไทยทางด้านทิศใต้ และ ทิศตะวันตก (1,754 กิโลเมตร) ประเทศกัมพูชา ทางด้านทิศใต้ (541 กิโลเมตร) ประเทศเวียตนาม ทางด้านทิศตะวันออก (2.130 กิโลเมตร) ประเทศเมียนมาร์ ทางด้นทิศตะวันตก (235 กิโลเมตร)


ที่ตั้ง

ที่ตั้ง




               สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเป็นประเทศเพื่อนบ้านถึง 5 ประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศที่มีอิทธิพลมากกว่า ทำให้ในหลายๆ เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ ลาวต้องตกอยู่ในสถานะเป็น รัฐกันชน

ที่ตั้ง

       สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวตั้งอยู่ทางเหนือ และละติจูดที่ 14 – 23 องศาเหนือ และลองจิจูดที่ 100 – 108 องศาตะวันออก

ประเทศใกล้เคียง





ทิศเหนือ ติดกับสาธารณรัฐประชาชนจีน

ทิศตะวันออก ติดกับประเทศเวียดนาม

ทิศตะวันตก ติดกับประเทศไทย

ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดกับประเทศเมียนมาร์

ทิศใต้ ติดกับประเทศกัมพูชา


ภูมิประเทศ

             ลาวตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีน หรือที่เรียกว่า “ดินแดนสุวรรณภูมิ” อุดมสมบูรณ์ด้วยภูเขาสลับซับซ้อน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงที่ราบสูง แม้จะไม่มีไม่มีทางออกสู่ทะเล แต่ลาวก็มีแม่น้ำโขงซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักที่หล่อเลี้ยงทุกชีวิตของชาวลาวไหลผ่าน





เราอาจแบ่งภูมิประเทศของลาวได้เป็น 3 เขตด้วยกัน คือ

   1.  เขตภูเขาสูง   อยู่สูงกว่าระดับทะเลโดยเฉลี่ย 1,500  เมตรขึ้นไป  เป็นพื้นที่ตอนเหนือของประเทศ  มีป่าไม้หนาแน่นที่สุด  เป็นที่อยู่ของลาวสูงหรือม้ง  ซึ่งมีอาชีพทำนาบนที่สูงและทำไร่

     2. เขตที่ราบสูง  เป็นพื้นที่ที่มีความสูงกว่าน้ำทะเล  1,000  เมตร  อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้  ประกอบด้วยที่ราบสูงขนาดใหญ่  3  แห่ง  คือ  ที่ราบสูง  เมืองพวน  (แขวงเชียงขวาง)  ที่ราบสูงนากาย  (แขนวงคำม่วน)  และที่ราบสูงภาคใต้  เป็นที่อยู่อาศัยของลาวเทิง  ซึ่งมักทำอาชีพเพาะปลูก  ทำนาขั้นบันได  ทำไร่เลื่อนลอย  เป็นต้น

     3.  เขตที่ราบลุ่ม  เป็นเขตที่ราบตามแนวฝั่งแม่โขงและแม่น้ำต่างๆ  นับเป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญของประเทศ  เพราะเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุด  เป็นที่อยู่ของลาวลุ่ม  มีอาชีพหลักคือทำนาลุ่มและทำการเกษตร

เมืองหลวง

กรุงเวียงจันทน์



    เวียงจันทน์ (Vientiane)  เมืองหลวงของลาว หรือ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เป็นเมืองที่สำคัญและใหญ่ที่สุดของประเทศ ตั้งอยู่ตอนกลางของประเทศลาวใกล้กับจังหวัดหนองคายของประเทศไทยและเป็นหนึ่งในเมืองหลวงอาเซียนในปัจจุบัน โดยเวียงจันทน์มีพรมแดนติดกับภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย


ประวัติของกรุงเวียงจันทน์

เมืองหลวงลาว หรือ กรุงเวียงจันทน์ หรือ นครหลวงเวียงจันทน์ ที่คนลาวนิยมเรียก เป็นเมืองที่มีประวัติย้อนหลังอันยาวนาน โดยถูกสถาปนาขึ้นเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรล้านช้าง (ประเทศลาวในปัจจุบัน) เมื่อปี พ.ศ. 2103 โดยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2321 ได้ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของไทย และตกไปเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ. 2436 ก่อนจะประกาศเอกราชในเวลาต่อมา ซึ่งตลอดเวลาตั้งแต่สมัยอาณาจักรล้านช้างจนถึงปัจจุบัน นครเวียงจันทน์ได้รับการยกให้เป็นเมืองหลวงของประเทศตลอดมา


ลักษณะทั่วไปของเวียงจันทน์

เวียงจันทน์ตั้งอยู่ตอนกลางของประเทศในเขตลุ่มน้ำโขง มีที่ตั้งตามพิกัดสากลที่ 17°58′ เหนือ, 102°36′ ตะวันออก มีประชากรทั้งแบบลงทะเบียนและไม่ลงทะเบียนแน่นอนราว 700,000 คน




             เนื่องจากเวียงจันทน์เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ จึงมีการแบ่งเป็นเขตพื้นที่ย่อยทั้งหมด 5 เขต เพื่อง่ายต่อการบริหาร (เหมือนการแบ่งเขตของกรุงเทพมหานคร) คือ เขตจันทบุรี เขตศรีโคตรบอง เขตไชยเชษฐา เขตศรีสัตตนาค และเขตหาดทรายฟอง
เวียงจันทน์นอกจากจะเป็นเมืองหลวงลาวแล้ว ยังเป็นเมืองใหญ่และสำคัญที่สุดของประเทศ เป็นศูนย์กลางการเมืองการปกครอง ศูนย์กลางทางด้านเศรษฐกิจและการลงทุน การศึกษา และการคมนาคมขนส่ง เป็นต้น
เวียงจันทน์เป็นเมืองที่สวยงาม มีศิลปะวัฒนธรรมที่น่าสนใจมากมาย ทั้งวัดวาอารามและอนุสรณ์สถานต่างๆ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจที่สุดแห่งหนึ่งของอาเซียน อีกทั้งค่าใช้จ่ายด้านการกินการอยู่ก็ไม่สูง การเดินทางสะดวก รถราก็ไม่ติดเหมือนเมืองใหญ่อื่นๆ

ประชากรและศาสนา

ประชากร 



       จากสถิติในปี พ.ศ. 2548 (ตามข้อมูลกระทรวงการต่างประเทศของไทย) ประเทศลาวมีประชากรรวม 6,068,117 คน ประกอบด้วยชนชาติต่างๆ หลากหลายเชื้อชาติ ซึ่งในภาษาลาวจะเรียกรวมกันว่า "ประชาชนบรรดาเผ่า" สามารถจำแนกได้เป็น 68 ชนเผ่าโดยประมาณ
 แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ตามถิ่นที่อยู่อาศัย ดังนี้

ลาวลุ่ม  หมายถึงชาวลาวที่อาศัยอยู่ในเขตที่ราบ ส่วนใหญ่ได้แก่คนเชื้อชาติลาว ภูไท ไทดำ ไทลื้อ ฯลฯ ใช้ภาษาลาวหรือภาษาตระกูลภาษาไทเป็นภาษาหลัก ประชาชนกลุ่มนี้มีอยู่ร้อยละ 68 ของจำนวนประชากรทั้งหมดและอาศัยกระจายอยู่ทั่วประเทศ ถือว่าเป็นกลุ่มชาวลาวที่มีจำนวนมากที่สุดในประเทศ

ลาวเทิง หมายถึงชาวลาวที่อาศัยอยู่ในเขตที่ราบสูง เช่น ชาวบรู มะกอง งวน ตะโอย ตาเลียง ละเม็ด ละเวน กะตัง ฯลฯ ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ทางภาคใต้ของประเทศ เช่น แขวงจำปาสัก แขวงเซกอง แขวงอัตตะปือ คิดเป็นร้อยละ 22 ของจำนวนประชากรทั้งหมด

ลาวสูง หมายถึงชาวลาวที่อาศัยอยู่ในเขตภูเขาสูง เช่น ชาวม้ง เย้า มูเซอ ผู้น้อย และชาวเขาเผ่าต่างๆ ส่วนมากอาศัยอยู่ในเขตภาคเหนือของลาว เช่น แขวงหลวงพระบาง แขวงเชียงขวาง และตามแนวตะเข็บชายแดนภาคเหนือ ชาวลาวกลุ่มนี้คิดเป็นจำนวนร้อยละ 9 ของจำนวนประชากรทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีชาวลาวเชื้อสายเวียดนาม ชาวลาวเชื้อสายจีน รวมทั้งชาวต่างชาติอื่นๆ ในลาวคิดเป็นร้อยละ 2 ของจำนวนประชากรทั้งหมดด้วย


ศาสนา 



                ชาวลาวส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติ (ร้อยละ 60 ของชาวลาวทั้งหมด)  ควบคู่ไปกับลัทธินับถือผีบรรพบุรุษของชนชาติส่วนน้อยในแถบภูเขาสูง ส่วนชาวลาวที่นับถือศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลามมีจำนวนที่ค่อนข้างน้อยมาก โดยศาสนาคริสต์ส่วนมากจะมีผู้นับถือเป็นกลุ่มชาวเวียดนามอพยพและชาวลาวเชื้อสายเวียดนาม ส่วนศาสนาอิสลามพบว่ามีการนับถือในหมู่ชนชาติส่วนน้อยจีนฮ่อที่อาศัยตามชายแดนด้านติดกับประเทศพม่า และมีชุมชนมุสลิมที่มีเชื้อสายเอเชียใต้ และจามในเวียงจันทน์

พุทธศาสนาแบบเถรวาท 
             นับเป็นแบบแผนหลักของวัฒนธรรมลาว ซึ่งปรากฏให้เห็นทั่วประเทศ ทั้งในด้านภาษา และศิลปะ วรรณคดี ศิลปะการแสดง ฯลฯ สำหรับดนตรีลาวนั้นมี แคน ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีประจำชาติ วงดนตรีของลาวก็คือวงหมอลำ มีหมอลำ และหมอแคน ท่วงทำนองของการขับลำจะแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น ทางภาคเหนือเรียกว่าขับ ภาคใต้จากบอลิคำไซลงไปเรียกว่าลำ เช่น ขับงึมเวียงจันทน์ ขับพวนเซียงขวง ลำสาละวันของแขวงสาละวัน ลำภูไท ลำตังหวาย ลำคอนสะหวัน ลำบ้านซอกของแขวงสะหวันนะเขต ขับโสม ลำสีพันดอนของแขวงจำปาสัก ลำมะหาไซของแขวงคำม่วน ขับทุ่มของแขวงหลวงพระบาง ขับลื้อของชาวลื้อ เป็นต้น การแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ อย่างหนึ่งของลาวคือผู้หญิงจะนุ่งผ้าซิ่น (ผ้าถุง) อาหารของคนลาว ลาวจะทานข้าวเหนียวเป็นหลัก อาหารที่เป็นเอกลักษณ์คือ แจ่ว ส้มตำ ไก่ย่าง เป็นต้น อารยธรรมเก่าแก่ของลาวนั้น มีปรากฏจากหลักฐานด้านโบราณคดียุคหินที่ทุ่งไหหินในแขวงเชียงขวาง

ภาษาและวัฒนธรรม

ภาษา 



                    ประเทศลาวใช้ภาษาลาวเป็นภาษาทางการทั้งในส่วนของภาษาพูดและระบบการเขียน ส่วนในกลุ่มชาวลาวเทิงและชาวลาวสูงยังคงมีการใช้ภาษาประจำเผ่าของตนควบคู่กับภาษาลาว ส่วนภาษาต่างประเทศอื่นที่มีการใช้ได้แก่ภาษาฝรั่งเศสซึ่งมีการใช้มาตั้งแต่สมัยอาณานิคม ปัจจุบันยังคงใช้ในวงราชการและการติดต่อค้าขายบ้าง อีกภาษาหนึ่งที่สำคัญคือภาษาอังกฤษซึ่งใช้ในการติดต่อกับต่างประเทศและการค้า ซึ่งนับวันการศึกษาภาษาอังกฤษก็ยิ่งจะขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ สำหรับอัตราการรู้หนังสือของลาวนั้น ประชากรเพศชายรู้หนังสือร้อยละ 67 หญิงร้อยละ 43 เมื่อคิดเฉลี่ยรวมทั้งสองเพศแล้วปรากฏว่าประเทศลาวมีอัตราประชากรที่รู้หนังสือ ร้อยละ 56


วัฒนธรรม 



                มีความคล้ายคลึงกับคนภาคอิสานของไทยเป็นอย่างมาก ยังมีคำกล่าวที่ว่า “ มีลาวอยู่แห่งใด มีมัดหมี่ แลลายจกอยู่ที่นั้น ” ในด้านดนตรี ลาวมีแคนเป็นเครื่องดนตรีประจำชาติ มีหมอขับ หมอลำ ลาวมีประเพณีทางพระพุทธศาสนาและอื่นๆ เช่น วันมาฆบูชา วันสงกรานต์ วันออกพรรษา บุญเข้าประดับดิน บุญเข้าฉลาก บุญส่วงเฮือ (แข่งเรือ) บุญธาตุหลวงเวียงจันทน์ ในเดือน 12 เป็นต้น

ลักษณะภูมิอากาศ 

ลักษณะภูมิอากาศ 



              ประเทศลาวตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้น ลักษณะทางภูมิศาสตร์มีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก ตั้งแต่ภาคกลางจนถึงภาคเหนือในแขวงพงสาลีที่มีเขตแดนอยู่ติดกับประเทศจีน ภูมิประเทศส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนและที่ราบสูงอากาศค่อนข้างหนาวถึงหนาวจัด ส่วนทางทิศตะวันออกมีลักษณะเป็นเทือกเขาและที่ราบติดกับประเทศเวียดนาม สำหรับทางตอนใต้สุดมีลักษณะเป็นเทือกเขาติดกับประเทศกัมพูชา ประกับกับที่ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมในทะเลจีนใต้ ทำให้ประเทศลาวมีลักษณะทางภูมิอากาศ

แบ่งออกได้ 3 ฤดู 

ฤดูร้อน เริ่มต้นตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ จนถึงเดือนเมษายน

ฤดูฝน เริ่มต้นตั้งแต่เดือนพฤษภาคม จนถึงเดือนตุลาคม

ฤดูหนาว เริ่มต้นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน จนถึงเดือนมกราคม

เศรษฐกิจ 

เศรษฐกิจ 

          ภาวะเศรษฐกิจของ สปป.ลาวมีพัฒนาการที่ดีตามลำดับ โดยในช่วง 20 ปีนับตั้งแต่ปรับเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมสู่ระบบเศรษฐกิจเสรีการตลาดเมื่อปี 2529 สปป.ลาวมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 6.2 ต่อปี ประชากรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากประมาณ 200 ดอลลาร์สหรัฐเมื่อปี 2529 เป็น 491 ดอลลาร์สหรัฐในปี 2548 ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 10 ต่อปี โดยอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าเป็นสาขาหลักที่สร้างรายได้ให้แก่ประเทศ อย่างไรก็ดี ลาวยังคงประสบปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไข ที่สำคัญได้แก่ ปัญหาราคาน้ำมัน ที่เพิ่มสูงขึ้น ปัญหาการขาดดุลการค้าในอัตราสูง ค่าเงินกีบไม่มีเสถียรภาพ การจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าเป้าหมาย และปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง ทรัพยากรสำคัญของลาว ได้แก่ ไม้ ดีบุก ยิบซั่ม ตะกั่ว หินเกลือ เหล็ก ถ่านหินลิกไนต์ สังกะสี ทองคำ อัญมณี หินอ่อน น้ำมัน และแหล่งน้ำผลิตไฟฟ้า

การลงทุน
                รัฐบาลลาวได้ปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อเสริมสร้างบรรยากาศให้เอื้ออำนวยต่อการลงทุนมากยิ่งขึ้น อาทิ มาตรการด้านภาษี อนุญาตให้นครหลวงเวียงจันทน์ แขวงจำปาสัก และแขวงหลวงพระบาง มีอำนาจอนุมัติโครงการลงทุนที่มีมูลค่าไม่เกิน 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนแขวงอื่น ๆ สามารถอนุมัติโครงการลงทุนที่มีมูลค่าลงทุนไม่เกิน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้การลงทุนจากต่างประเทศในลาวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2546 มีมูลค่า 465 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปี 2547 มีมูลค่า 533 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และปี 2548 มีมูลค่า 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นักลงทุนที่สำคัญ ได้แก่ ไทย เวียดนาม ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย จีน


การนำเข้าและการส่งออก 
                สินค้าส่งออกที่สำคัญของลาว ได้แก่เสื้อผ้าสำเร็จรูป ไม้ซุง ไม้แปรรูป ผลิตภัณฑ์ไม้ สินแร่ เศษโลหะ ถ่านหิน หนังดิบ และหนังฟอก ข้าวโพด ใบยาสูบ กาแฟ โดยส่งออกไปยังประเทศไทย เวียดนาม ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เยอรมนี สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ และเยอรมนี ส่วนการนำเข้าสินค้า ประเทศลาวได้นำเข้าสินค้าจากไทย จีน เวียดนาม สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เยอรมนี โดยสินค้าที่สำคัญได้แก่ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกล เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อน อาหาร ผ้าผืน สารเคมี และเครื่องอุปโภคบริโภค


โครงการความร่วมมือในภูมิภาคใกล้เคียง 
                  อาเซียน ลาวเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนเมื่อเดือนกรกฎาคม 2540 ได้เป็นประธาน คณะกรรมการประจำอาเซียนเมื่อกรกฎาคม 2547 >ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy - ACMECS) >ความร่วมมือในกรอบสามเหลี่ยมมรกต

การนำเข้าและการส่งออก 

การนำเข้าและการส่งออก 




                  สินค้าส่งออกที่สำคัญของลาว ได้แก่เสื้อผ้าสำเร็จรูป ไม้ซุง ไม้แปรรูป ผลิตภัณฑ์ไม้ สินแร่ เศษโลหะ ถ่านหิน หนังดิบ และหนังฟอก ข้าวโพด ใบยาสูบ กาแฟ โดยส่งออกไปยังประเทศไทย เวียดนาม ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เยอรมนี สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ และเยอรมนี ส่วนการนำเข้าสินค้า ประเทศลาวได้นำเข้าสินค้าจากไทย จีน เวียดนาม สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เยอรมนี โดยสินค้าที่สำคัญได้แก่ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกล เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อน อาหาร ผ้าผืน สารเคมี และเครื่องอุปโภคบริโภค

สื่อสารมวลชน

สื่อสารมวลชน 

              สื่อในประเทศลาวล้วนอยู่ในความดูแลของรัฐโดยตรง รัฐบาลลาวมีสำนักข่าวสารประเทศลาว (ขปล.) เป็นสำนักข่าวแห่งชาติที่เผยแพร่ข่าวของรัฐ ส่วนหนังสือพิมพ์ภาษาลาวที่สำคัญในประเทศได้แก่ หนังสือพิมพ์ประชาชนซึ่งเป็นกระบอกเสียงของพรรคประชาชนปฏิวัติลาว และหนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ใหม่ นอกจากนี้ยังมีหนังสือพิมพ์ภาษาต่างประเทศอีก 2 ฉบับ คือ หนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ไทม์ส (Vientiane Times) ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ และหนังสือพิมพ์ "เลอเรโนวาเตอร์" (Le Rénovateur) ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ภาษาฝรั่งเศส ในประเทศลาวมีสถานีโทรทัศน์เพียง 3 สถานี คือ สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศลาว (สทล.) ซี่งเป็นสถานีโทรทัศน์ของรัฐ ออกอากาศผ่านเครือข่ายสถานีในประเทศ สถานีโทรทัศน์ลาวสตาร์แชนแนล และสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติลาว (LRT) ออกอากาศผ่านทางระบบดาวเทียมไทยคม 5 สถานีแห่งนี้เป็นสถานีโทรทัศน์ของเอกชนที่ดำเนินการภายใต้สัมปทานของรัฐ อนึ่ง ชาวลาวที่อยู่ตามชายแดนไทยและชาวลาวที่มีฐานะพอจะซื้อจานดาวเทียมได้จะนิยมดูรายการโทรทัศน์ช่องต่างๆ ของไทยเสียมากกว่า ด้านการใช้อินเทอร์เน็ต ตามหัวเมืองใหญ่และนครหลวงมีการเปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตคาเฟ่โดยทั่วไป และได้รับความนิยมอย่างยิ่งในหมู่เยาวชนรุ่นใหม่ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลลาวก็ได้มีเซ็นเซอร์เนื้อหาและการเข้าถึงข้อมูลอินเทอร์เน็ตอย่างเข้มงวดเนื่องจากเป็นประเทศที่ปกครองโดยรัฐบาลคอมมิวนิสต์

ธงประจำชาติ

ธงประจำชาติ




ธงชาติลาว แบบปัจจุบันเริ่มใช้มาตั้งแต่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518 ซึ่งเป็นวันสถาปนาประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีลักษณะตาม ที่กำหนดไว้ใน รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หมวดที่ 10 มาตราที่ 91 ดังนี้

"ธงชาติของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นธงพื้นสีคราม, แถบแดง, และวงเดือนสีขาวอยู่กึ่งกลางของธงชาติ. ความกว้างของธงเท่ากับสองส่วนสามของความยาว, ความกว้างขอบแถบสีแดงแต่ละข้างเท่ากับกึ่งหนึ่งของแถบสีคราม และวงเดือนสีขาวกว้างเท่ากับสี่ส่วนห้าของความกว้างแถบสีคราม."

ธงนี้มีชื่อเรียกในภาษาลาวว่า ธงดวงเดือน ได้รับ การออกแบบขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดย มหาสิลา วีระวงส์ นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ของชาวลาว
ธงนี้เป็นหนึ่งในธงของประเทศที่ปกครองด้วยรัฐบาล คอมมิวนิสต์ ที่ไม่มีสัญลักษณ์รูปค้อนเคียวของขบวนการคอมมิวนิสต์สากล ซึ่งมีอยู่น้อยมาก




ความหมายของธงชาติลาว

สีแดง หมายถึง เลือดแห่งการต่อสู้เพื่ออิสรภาพของชาวลาว

สีน้ำเงิน หมายถึง ความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ของชาติ

พระจันทร์สีขาว เป็นสัญลักษณ์ของดวงจันทร์ลอยเด่นเหนือลำน้ำโขง และหมายถึงเอกภาพของชาติภายใต้การปกครองของรัฐบาลพรรคประชาชนปฏิวัติ ลาว (พรรคคอมมิวนิสต์ลาว) หรือหมายถึงการกลับมารวมกันอีกครั้งของชาวลาวสองฝั่งโขง


ประวัติความเป็นมาของธงดวงเดือน

         ในอดีตช่วงปี พ.ศ. 2488 นั้น ภายหลังจากญี่ปุ่นยอมแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 แล้ว ขบวนการลาวอิสระได้ประกาศให้ประเทศลาวเป็นเอกราชจากฝรั่งเศสและประกาศ จัดตั้งรัฐบาลลาวอิสระ โดยใช้ธงนี้เป็นสัญลักษณ์ในการเคลื่อนไหว แต่ 6 เดือนให้หลังต่อมาฝรั่งเศสก็กลับเข้ามาปกครองลาวซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอินโด จีนฝรั่งเศสและล้มรัฐบาลลาวอิสระลง (ได้ให้เอกราชแก่ลาวภายหลังในปี พ.ศ. 2498 ลาวจึงปกครองตนเองต้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข) ธงนี้ก็ได้ถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ของขบวนการปะเทดลาวแทน ซึ่งขบวนการนี้จัดตั้งโดยผู้นำขบวนการลาวอิสระส่วนหนึ่ง ที่นิยมแนวคิดทางการเมืองฝ่ายซ้าย ภายใต้การนำของเจ้าสุภานุวงศ์
           เมื่อขบวนการปะเทดลาวเคลื่อนไหวปลดปล่อยลาว ล้มล้างรัฐบาลระบอบกษัตริย์ และจัดตั้งรัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์ปกครองประเทศสำเร็จ ธงนี้ก็ได้รับการรับรองให้เป็นธงชาติของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน ลาวอย่างเป็นทางการในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518

ดอกไม้ประจำชาติ

ดอกไม้ประจำชาติ




                 ดอกไม้ประจำชาติอาเซียนอีกประเทศหนึ่งคือดอกลีลาวดีของประเทศลาว ดอกลีลาวดีมีชื่อในภาษาลาวว่าดอกจำปาลาว หรือที่คนไทยโบราณนิยมเรียกว่าดอกลั่นทม ซึ่งมาเปลี่ยนชื่อเป็นดอกลีลาวดีในภายหลัง (นัยว่าเพื่อความเป็นสิริมงคล) ดอกลีลาวดีนั้นเป็นดอกไม้ที่มีหลากหลายสีสัน ทั้งสีขาว สีส้ม สีแดง สีชมพู และสีเหลืองเป็นต้น คนลาวถือว่าดอกลีลาวดีซึ่งเป็นดอกไม้ประจำชาติของตนนั้นเป็นตัวแทนของความสดชื่น ความจริงใจ และความสุข ดังนั้นคนลาวจึงนิยมใช้ดอกลีลาวดีในงานมงคลทุกชนิด ทั้งงานบวช งานแต่ง งานทำบุญต่างๆ รวมถึงทำเป็นพวงมาลัยถวายพระและต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองด้วย


ดอกไม้ประจำชาติสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : ดอกลีลาวดี

ชื่อพื้นเมือง : จำปา

ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เนื้อไม่อ่อน แตกกิ่งเป็นแฉก เป็นง่ามกระจายออกทำ ให้เกิดทรงพุ่มใหญ่ กิ่งเปราะง่าย ทิ้งใบในฤดูแล้งแล้วผลิดอกและใบรุ่นใหม่ ในช่วงเดือนเมษายนเป็นต้นไป

ใบ : มีใบใหญ่โตเป็นหอก ใบแข็งมีสีเขียวเข้ม

ดอก : ดอกเป็นช่อ ถ้าต้นสมบูรณ์ดี ช่อหนึ่งจะมีดอกหลายสิบดอกเป็นกลุ่มสวยงามมากมีกลีบดอก 5 กลีบ มีหลายลักษณะ บางชนิดกลีบเวียนกัน บางชนิดกลีบดอกเรียงกันบางชนิดปลายกลีบดอกแหลม บางชนิดปลายกลีบดอกมน มากมายหลายสี บางต้นอาจมีดอกมีสีเดียว เช่น ขาว แดง ชมพู

ผล : ผลจะออกเป็นฝักคู่สีน้ำตาล

ด้านภูมิทัศน์ : นิยมใช้กันมากในวงการสปา

อาหารประจำชาติ

อาหารประจำชาติ





ซุปไก่ (Chicken Soup
)
เป็นอาหารยอดนิยมของลาว
มีส่วนผสมสำคัญ ได้แก่ ตะไคร้ ใบสะระแหน่ กระเทียม หอมแดง รวมถึงรสชาติเปรี้ยว ๆ เผ็ด ๆ จากมะนาวและพริก รับประทานร้อน ๆ กับข้าวเหนียว



สลัดหลวงพระบาง
         สลัดหลวงพระบาง หน้าตาดูจะคล้ายกับสลัดผักน้ำ มีเพียงผักบางรายการที่เพิ่มเข้ามา และถั่วลิสงคั่ว โรยตอนสุดท้าย ลักษณะของผักน้ำ ลำต้นขนาดเล็กยาว แต่อวบเพราะเลี้ยงอยู่ในแม่น้ำ เวลาเคี้ยวจะรู้สึกถึงความกรอบของผัก พบเห็นได้ตามตลาดเช้า


สกุลเงิน

สกุลเงิน



หน่วยเงินของประเทศลาว : กีบ (ลาว: ກີບ)
(รหัสสากลตาม ISO 4217 อักษรย่อ LAK) หนึ่งกีบมี 100 อัด (ลาว: ອັດ) ในปี พ.ศ. 2522 เกิดการปฏิรูปค่าเงินขึ้น โดยเปลี่ยน 100 กีบแบบเก่าให้เท่ากับ 1 กีบในปัจจุบัน อัตราแลกเปลี่ยนเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2548 คือ 1 ยูโร เท่ากับ 13,636 กีบ และ 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 10,500 กีบ ธนาคารแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นผู้รับผิดชอบพิมพ์เงินตราออกใช้

ชุดประจำชาติ

ชุดประจำชาติ



ผู้หญิง นุ่งผ้าซิ่น และใส่เสื้อแขนยาวทรงกระบอก
ผู้ชาย  มักแต่งกายแบบสากล หรือนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อชั้นนอกกระดุมเจ็ดเม็ด คล้ายเสื้อพระราชทานของไทย

สถานที่ท่องเที่ยว

สถานที่ท่องเที่ยว



สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หรือที่หลาย ๆ คนเรียกว่า ประเทศลาว หรือ สปป. ลาว เป็นประเทศที่ถูกปิดล้อมด้วยผืนแผ่นดินและภูเขา แม้ว่าจะไม่มีอาณาเขตติดกับน้ำทะเลเลย แต่ประเทศลาวก็อุดมไปด้วยต้นไม้ ภูเขา ที่ยังคงความสมบูรณ์ทางธรรมชาติ นอกจากนี้ ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นมาทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่น่าสนใจ จนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวตะวันตก ยุโรป เอเชีย รวมถึงไทยได้เป็นอย่างดี ฉะนั้น กระปุกท่องเที่ยวจึงได้นำ 10 แหล่งท่องเที่ยวสุดฮิตในลาวที่ต้องหาโอกาสไปสัมผัสด้วยตาตัวเองสักครั้งมาแนะนำกัน ส่วนจะเป็นที่ไหนกันบ้าง และน่าตื่นตาตื่นใจขนาดไหนนั้น ไปชมกันเลยจ้า



1. เมืองหลวงพระบาง (Luang Prabang)




              เมืองหลวงพระบางอยู่ทางตอนเหนือของประเทศลาว และถูกขนาบไปด้วยแม่น้ำคานและแม่น้ำโขง เมืองนี้จัดว่าเป็นเมืองที่มีเสน่ห์น่าหลงใหล เพราะเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยวัดวาอารามเก่าแก่ มีบ้านเรือนที่มีสถาปัตยกรรมแบบโคโลเนียน บรรยากาศในเมืองเต็มไปด้วยเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม จึงไม่น่าแปลกที่ได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรกดโลก ส่งผลให้นักท่องเที่ยวต่างชาติให้เดินทางมาเยี่ยมชมเป็นจำนวนมาก โดยสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจ เช่น วัดใหม่สุวันนะพูมาราม พระธาตุจอมพูสี น้ำตกตาดกวางสี และวัดวิชุน ฯลฯ


2. แม่น้ำโขง (Mekong River)





                     แม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีความยาวถึง 4,350 กิโลเมตร ประเทศลาวเองก็มีพรมแดนติดแม่น้ำโขงด้วยเช่นกัน และใช้แม่น้ำโขงสำหรับสัญจรไปมาอีกด้วย ทัศนียภาพตลอดแนวริมฝั่งนั้นสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของคนลาว และความงดงามทางธรรมชาติ อากาศที่บริสุทธิ์ ทำให้ทริปล่องแม่น้ำโขงนั้นเป็นที่นิยมในหมู่นักท่องเที่ยวจำนวนมาก โดยจุดเริ่มต้นเส้นทางเริ่มที่เมืองห้วยทรายและสิ้นสุดที่เมืองหลวงพระบาง หรือจะออกเดินทางจากหลวงพระบาง-ห้วยทรายก็ได้


3. วังเวียง (Vang Vieng)



                วังเวียงเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ตั้งอยู่ในเมืองวังเวียง ริมแม่น้ำซอง อยู่ห่างจากเมืองหลวงเวียงจันทน์ 150 กิโลเมตร ตัวเมืองถูกล้อมรอบด้วยภูเขาและแม่น้ำ ด้วยลักษณะภูมิประเทศเช่นนี้ทำให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่งดงามไปด้วยธรรมชาติ มีทัศนียภาพอันงดงามของทิวเขาที่วางสลับตัวกัน เหมาะจะไปสูดอากาศบริสุทธิ์ นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับกลิ่นอายวิถีชีวิตวัฒนธรรมของชาวลาวในชนบท เช่น เผ่าลาวสูง, ลาวเทิง, ลาวม้ง และไทลื้อ ส่วนกิจกรรมที่น่าสนใจประกอบด้วย เดินทางไกลชมป่าไม้ ปีนเขา ชมถ้ำ และล่องห่วงยางเล่นบนแม่น้ำซอง ฯลฯ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวเป็นจำนวนมาก จึงมีที่พัก ร้านอาหาร ร้านอินเทอร์เน็ต ตัวแทนบริษัทท่องเที่ยวเปิดให้บริการอย่างคึกคัก


4. สี่พันดอน (Si Phan Don )



           สี่พันดอน แปลว่า สี่พันเกาะนั่นเอง เป็นหมู่เกาะที่อยู่บริเวณแม่น้ำโขงทางตอนใต้ของประเทศลาว ก่อนที่จะไหลเข้าเขตประเทศกัมพูชา ชาวบ้านแถบนี้ประกอบอาชีพประมงเป็นส่วนใหญ่ และยังคงดำรงชีวิตแบบชาวชนบท มีความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย เป็นเขตที่ค่อนข้างสงบทีเดียว จุดท่องเที่ยวหลัก ๆ มีอยู่ 3 แห่ง คือ ดอนคง ดอนคอน และดอนเด็ด สำหรับดอนคงเป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีบรรยากาศเงียบสงบ เหมาะแก่การพักผ่อนแบบชิล ๆ สัมผัสอากาศบริสุทธิ์ ชมความงามของธรรมชาติ สำหรับดอนคอนและดอนเด็ดเป็นเกาะที่นักท่องเที่ยวนิยมเดินทางมาค่อนข้างมาก จึงมีที่พักเปิดให้บริการกับผู้คนที่แวะเวียนมาเยี่ยมชมธรรมชาติที่นี่ ที่สำคัญราคาที่พักไม่แพงเลย


5. ทุ่งไหหิน (Plain of jar)




                  ทุ่งไหหินเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่อยู่ในเมืองเชียงขวาง (Xieng Khouang) เป็นที่ราบกว้างเต็มไปด้วยหินรูปทรงคล้ายไหหรือโอ่ง มีความสูงตั้งแต่ 1-3 เมตร นักโบราณคดีสันนิษฐานว่า ไหพวกนี้ปรากฏขึ้นตั้งแต่ยุคหิน และน่าจะมีความเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมฝังศพ เพราะมีการค้นพบซากโครงกระดูกมนุษย์และสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับการฝั่งศพบริเวณรอบ ๆ นอกจากนี้ บริเวณรอบ ๆ ไหหินยังมีร่องรอยของหลุมระเบิดที่ทิ้งลงมาโดยสหรัฐอเมริกาอีก อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการยืนยันแน่ชัดจากนักโบราณคดีว่าที่มาของไหหินนี้เป็นมาอย่างไรกันแน่ แต่ปัจจุบันกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความสนใจจากชาวต่างชาติไปเรียบร้อยแล้ว


6. วัดเชียงทอง (Wat Xieng Thong)




                วัดเชียงทองตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองหลวงพระบาง มีการออกแบบด้วยสถาปัตยกรรมแบบล้านนา และได้รับการยกย่องจากนักโบราณคดีว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่งดงามมากที่สุดแห่งหนึ่งในลาว จนทำให้มีนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกต่างพากันมาชื่นชมความงามนี้ด้วยสายตาของตัวเอง นอกจากจะมีรูปทรงที่สวยงามแล้ว ยังเป็นศาสนสถานที่ทรงคุณค่าทางจิตใจของชาวลาว ทั้งนี้ วัดเชียงทองถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1560 โดยพระโพธิสารเจ้า มีฐานะเป็นวัดหลวง จึงทำให้มีการดูแลปฏิสังขรณ์เป็นอย่างดี ภายในวัดเชียงทองประกอบไปด้วยพระอุโบสถ พระประธาน วิหารน้อย โรงเมี้ยนโกศ ซึ่งมีการประดับตกแต่งด้วยศิลปะแบบหลวงพระบางแท้ ๆ


7. พระธาตุหลวง (Pha That Luang)




               พระธาตุหลวงเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางศาสนาพุทธตั้งอยู่ที่เมืองเวียงจันทน์ ถูกสร้างขึ้นโดยบุรีจันอ้วยล้วย หรือพระเจ้าจันทบุรีศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครเวียงจันทน์พระองค์แรก ตามตำนานเล่าว่า มีพระภิกษุลาวจำนวน 5 รูป เดินทางไปศึกษาพระพุทธศาสนาที่ประเทศอินเดีย แล้วนำพระอุรังคธาตุ (กระดูกส่วนที่เป็นหน้าอก) มาไว้ที่เวียนจันทน์ เจ้านครในสมัยนั้นจึงสั่งให้มีการสร้างพระธาตุขึ้นมาเพื่อบรรจุพระอุรังคธาตุไว้สำหรับกราบไหว้บูชา เริ่มแรกนั้นพระธาตุถูกสร้างด้วยหิน แต่ต่อมามีการสร้างเจดีย์ครอบองค์พระธาตุ และบริเวณรอบ ๆ องค์พระธาตุมีเจดีย์รายล้อมหลายองค์ ที่เจดีย์ถูกแกะสลักเป็นลวดลายพญานาค พระพุทธรูปปิดทองลายกลีบบัวประดับอยู่บนฐานปักษ์ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันรูปทรงของพระธาตุมีลักษณะคล้ายกับป้อมปราการ เพราะมีระเบียงล้อมรอบสูง สถานที่แห่งนี้ถือว่าเป็นปูชนียสถานที่มีคุณค่าทางจิตใจต่อคนลาวมากที่สุดก็ว่าได้ เสมือนเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนทั้งประเทศ


8. ปราสาทหินวัดพู (Wat Phu)



              ปราสาทหินวัดพูตั้งอยู่บนเนินเขาพู ในแขวงจำปาสัก (Champasak) เป็นซากปรักหักพังของวัดฮินดูโบราณ ที่สร้างขึ้นช่วงศตวรรษที่ 11 ถึง 13 นอกจากนี้ วัดพูยังได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกเพราะเคยเป็นแหล่งอารยธรรมโบราณถึง 3 สมัยด้วยกัน ตรงทางเข้าวัดพูนั้นมีหินปูเรียงรายสำหรับเดินเข้าวัด มีเสาเรียงตั้งเรียงอยู่หลายต้นขนาบข้างทางเดิน มีเรือนใหญ่ 2 หลัง ซุ้มประตูที่พลังทลาย หินสลักเป็นรูปเศียรช้าง และรูปปั้นหินรูปต่าง ๆ เช่น โยคี จระเข้ และมีพระพุทธรูปตั้งวางสำหรับกราบไหว้บูชา บรรยากาศที่ปราสาทแห่งนี้ให้ความรู้สึกถึงความอลังการ ความขลัง ผสมผสานกับความลี้ลับ น่าพิศวง อาจด้วยความเก่าแก่ตามกาลเวลา อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันถูกใช้เป็นสถานที่ทางพุทธศาสนานิกายเถรวาท


9. ถ้ำปากอู (Pak Ou)




                   ถ้ำปากอู หรือถ้ำติ่ง อยู่ในแขวงหลวงพระบาง (Laung Prabang) ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง นักท่องเที่ยวต้องนั่งเรือจากตัวเมืองในหลวงพระบางประมาณ 25 นาที เมื่อมาถึงบ้านปากอู ต้องนั่งเรือข้ามฝากมาฝั่งตรงข้ามจะพบถ้ำติ่ง ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ถ้ำ คือ ถ้ำติ่งลุ่ม และถ้ำติ่งเทิ่ง เมื่อลงมาจากเรือจะพบทางเข้าถ้ำติ่งลุ่ม เป็นถ้ำที่มีโพรงไม่ลึก ภายในมีหินงอกหินย้อย และมีรูปปั้นพระพุทธรูปที่ทำจากไม้เต็มไปหมด เชื่อกันว่าในสมัยก่อนเคยถูกใช้เป็นสถานที่สำหรับสักการบูชาดวงวิญญาณ ภูตผี แต่เมื่อศาสนาพุทธเข้ามาในลาวจึงกลายเป็นศาสนสถานทางพุทธไป และเมื่อเดินไปอีกทางหนึ่งจะพบถ้ำเทิ่ง เป็นถ้ำที่ลึกมาก ภายในมีพระพุทธรูปเช่นกัน แต่มีจำนวนไม่มากเท่ากับถ้ำติ่งลุ่ม


10. เวียงไซ (Vieng Xai)



                     เวียงไซเป็นเมืองหนึ่งในแขวงหัวพัน (Hua Phan) แหล่งท่องเที่ยวที่เปรียบเสมือนแม่เหล็กของเมืองเวียงไซ คือ "ถ้ำผู้นำ" เป็นถ้ำหินปูนขนาดใหญ่ปกคลุมตัวต้นไม้เขียวขจี ดูแล้วก็เหมือนถ้ำทั่ว ๆ ไป แต่สิ่งที่ต้องทำให้ผู้คนตะลึง คือ ภายในถ้ำถูกขุดเจาะและสร้างเป็นที่อยู่อาศัย มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน เช่น ห้องพัก ห้องรับแขก ห้องประชุม โรงเรียน โรงพยาบาล ห้องหลบภัย โรงภาพยนตร์ ห้องสำหรับเล่นกีฬา ฯลฯ ซึ่งสามารถรองรับผู้อาศัยได้ประมาณ 20,000 คน โดยถ้ำผู้นำสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นสถานที่หลบภัยของแกนนำทหารคอมมิวนิสต์ในช่วงสงครามอินโดจีน เมื่อย้อนกลับไปสมัยนั้น สหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดลงมาในลาวหลายลูกติดต่อกันเป็นเวลาถึง 9 ปี เพื่อขจัดพวกคอมมิวนิสต์ไปหมดสิ้นไป เหล่าแกนนำคอมมิวนิสต์จึงหาที่หลบภัย โดยการเข้าไปใช้ชีวิตอยู่ในถ้ำ ทำให้มี "ถ้ำผู้นำ" ลักษณะนี้อยู่ถึง 12 แห่ง ตั้งอยู่ใกล้เคียงกันในเมืองเวียงไซ แต่เปิดให้นักท่องเที่ยวชมเพียง 6 ถ้ำเท่านั้น นอกจากนี้ ยังมีการแสดงนิทรรศการเล่าเรื่องราวความเป็นมาของเหตุการณ์ในครั้งนั้นในแง่มุมของความรักชาติ การเสียสละเพื่อชาติอีกด้วย